เปิดจ้างงานบัณฑิตจบใหม่และประชาชน 68,350 อัตรา 7,435 ตำบล ใน 77 จังหวัด มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG เริ่มลงทะเบียน 5 – 7 ก.ค. 2565

  • U2T เปิดรับสมัคร รอบที่ 3
  • วันที่ 5-7 กรกฎาคม 2565 10.00 น.

  • จ้างงานบัณฑิตจบใหม่และประชาชน U2T for BCG ระยะที่ 2 เพื่อการจัดสรรบุคลากรที่มีศักยภาพ ทั้งที่ยังอยู่ในระหว่างการหางาน หรือกำลังทำงานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือชุมชนต่าง ๆ ให้มีการเติบโตและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืน
  • โดยผู้เข้าร่วม ในโครงการนี้จะต้องเข้าไปทำงานกับชุมชน “เป็นระยะเวลา 3 เดือน” ผ่านการใช้หลักการ BCG เพื่อเพิ่มรายได้ของแต่ละตำบล

  • ตำแหน่งที่เปิดรับ
    บัณฑิตจบใหม่ : เป็นผู้ที่จบการศึกษามาจากมหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรีมาแล้วไม่เกิน 5 ปี
    ผู้ที่ถูกเลิกจ้างหรือประชาชนในพื้นที่ : เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในตำบลที่เปิดรับสมัครงาน

  • บัณฑิตจบใหม่ ไม่เกิน 5 ปี จำนวน 4 คน
  • อัตราค่าจ้าง 15,000 บาท/เดือน
  • ประชาชน จำนวน 4 คน
  • อัตราค่าจ้าง 9,000 บาท/เดือน
  • รอบที่ 1 วันที่ 17-21 มิถุนายน 2565
  • รอบที่ 2 วันที่ 27-28 มิถุนายน 2565
  • รอบที่ 3 วันที่ 5-7 กรกฎาคม 2565
  • รายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ที่ https://u2tbcg.com





  • 17 มิ.ย.นี้ อว.เปิดลงทะเบียนออนไลน์รับบัณฑิตจบใหม่และประชาชน 68,350 คน ร่วมโครงการ U2T for BCG ทำงาน 1 ก.ค.นี้ ใน 7,435 ตำบล ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ “เอนก” รมว.อว.ดัน U2T for BCG โชว์โมเดลเศรษฐกิจใหม่ในที่ประชุมเอเปค งานใหญ่ไทยเป็นเจ้าภาพปลายปีนี้
  • เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ได้ประชุมมอบนโยบายโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG(U2T for BCG and Regional Development)” หรือโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” หลังจากที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้อนุมัติโครงการเมื่อวันที่ 14 มิ.ย.2565 โดยจะดำเนินการในช่วงเดือน ก.ค. – ก.ย.นี้ ในพื้นที่ 7,435 ตำบล ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ
  • ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.อว. กล่าวว่า โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG เป็นโครงการที่ทุกคนรอคอยและเป็นที่ต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง นี่คือโครงการที่ใหญ่ที่สุดของ อว. ที่จะดำเนินการครอบคลุมทั่วประเทศ ทุกตำบล รวมทั้งทุกแขวงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะใช้เวลาดำเนินการ 3 เดือน ตั้งแต่ ก.ค.- ก.ย. 65 และจะโฟกัสเรื่องเดียวคือ BCG เท่านั้น เพราะเป็นวาระสำคัญของประเทศไทยที่จะเชื่อมโยงไปถึงการประชุมเอเปค ที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในเดือน พ.ย. นี้ ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญในรอบ 20 ปีมีครั้ง และ BCG คือหนึ่งในวาระสำคัญของการประชุมเอเปคที่ประเทศไทยจะนำเสนอ ดังนั้น อว.จะนำผลงาน U2T for BCG ไปโชว์ให้กับผู้นำแต่ละประเทศได้เห็นถึงโมเดลทางเศรษฐกิจใหม่ของไทยที่ขับเคลื่อนด้วย BCG
  • รมว.อว.กล่าวต่อว่า U2T for BCG จะเป็นการรวมพลังของมหาวิทยาลัยรัฐกว่า 70 แห่ง และมหาวิทยาลัยเอกชนกว่า 20 แห่ง ทำร่วมกับบัณฑิตจบใหม่และประชาชนในพื้นที่กว่า 68,350 คน ซึ่งโครงการนี้จะต้องทำให้ประชาชนเห็นว่า อว.เป็นคนทำ และให้เห็นภาพของรัฐบาลในการสนับสนุน ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตั้งใจที่จะผลักดันงบประมาณที่เป็นงบกลางมาให้ อว. ดำเนินโครงการนี้ ในช่วงเวลา 3 เดือน ดังนั้น 3 เดือนจากนี้เป็นต้นไป โครงการ U2T for BCG ต้องทำให้มาก ให้ดี ให้เร็วและประหยัด และจะไม่ทำซ้ำกับโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ (U2T) ที่สำคัญ U2T for BCG จะทำให้ผู้ร่วมโครงการกลายเป็นคนที่สามารถ ซึ่งเกิดจากการทำงานกับผู้คนและสังคม ทำให้ได้ทั้งวิชางาน วิชาชีวิต เปลี่ยนความเก่งและดีที่มีอยู่ให้กลายเป็นความสามารถให้ได้
  • ด้าน ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว.กล่าวชี้แจงแนวทางการดำเนินงานว่า อว.จะเปิดรับบัณฑิตจบใหม่และประชาชนในพื้นที่ กว่า 68,350 คน ที่ต้องการจะมาร่วมงาน เข้ามาร่วมเป็นทีม อว. โดยทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัย ภาคประชาสังคม หน่วยงานในพื้นที่ และภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนโครงการ U2T for BCG เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเป็นรายตำบลทั่วประเทศ โดยกรอกข้อมูลผ่านระบบกลางออนไลน์ของ อว. แล้วจะเชื่อมโยงข้อมูลให้มหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบแต่ละตำบลเป็นผู้คัดเลือก หลังจากนั้นจะแบ่งการลงพื้นที่เพื่อทำงานร่วมกับชุมชนในพื้นที่ 3 พันตำบลเดิม จำนวนตำบลละ 8 คน ขณะที่พื้นที่ 4,435 ตำบลใหม่ จำนวนตำบลละ 10 คน เพื่อทำหน้าที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการของชุมชน โดยจะมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและบริการ การส่งเสริมการขยายและการตลาด การพัฒนาสินค้าและบริการให้มีมูลค่าสูง การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการ การขนส่งและกระจายสินค้า ทั้งนี้ ผลลัพธ์ของโครงการฯ คาดว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการของชุมชนที่ได้มาตรฐานและได้ออกสู่ตลาด มียอดขายเพิ่มขึ้นหรือการบริโภคเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์
  • “โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T ได้รับความชื่นชมจากทุกภาคส่วน ไม่เพียงเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ ซึ่งขณะนี้จะมุ่งเน้นด้าน BCG ในพื้นที่ แต่ยังเป็นการพัฒนากำลังคนของประเทศไทยให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบันและทักษะที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG ด้วย” ปลัด อว.กล่าว
  • ขณะที่ ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัด อว. กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 17 มิ.ย. อว.จะเปิดให้มีการลงทะเบียนของบัณฑิตและประชาชนในพื้นที่ที่ต้องการร่วมโครงการ U2T for BCG

  • ลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์   http://u2t.ac.th

  • ครม. อนุมัติวงเงิน 3,566.28 ล้านบาท ขับเคลื่อน “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” ครอบคลุม 7,435 ตำบล ใน 77 จังหวัด จ้างบัณฑิตจบใหม่และประชาชน กว่า 68,350 คน
  • ครม. อนุมัติวงเงิน 3,566.28 ล้านบาท ขับเคลื่อน “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” ครอบคลุม 7,435 ตำบล ใน 77 จังหวัด จ้างบัณฑิตจบใหม่และประชาชน กว่า 68,350 คน คาดเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 600 ล้านบาท/เดือน
  • นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์และ นวตกรรม (อว.) ดำเนิน “โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ใน 7,435 ตำบล ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ วงเงินรวมทั้งสิ้น 3,566.28 ล้านบาท โดยเกิดการจ้างงานประชาชนทั่วไปและบัณฑิตจบใหม่ จำนวนไม่น้อยกว่า 68,350 คน เศรษฐกิจในพื้นที่หมุนเวียนระหว่างดำเนินโครงการไม่น้อยกว่า 600ล้านบาท/เดือน โดยจะนำองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ภายใต้ อว. ไปขับเคลื่อนภาคการผลิตและบริการในระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและรักษาระดับการจ้างงาน
  • “โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) มีวัตถุประสงค์ คือ เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ ด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพิ่มการจ้างงานบัณฑิตที่เพิ่งจบการศึกษาและประชาชนในพื้นที่พัฒนากำลังคนให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อทักษะการทำงานในปัจจุบันและที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG รวมทั้ง พัฒนาฐานข้อมูลชุมชนขนาดใหญ่ (Thailand Community Big Data :TCD) ให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมในพื้นที่ของประเทศ
  • กลุ่มเป้าหมาย คือ บัณฑิตจบใหม่ไม่เกิน 5 ปี ผู้ที่ถูกเลิกจ้าง/ประชาชนในพื้นที่สถาบันอุดมศึกษาภาคประชาชนภาคสังคมและภาคส่วนต่างๆ โดยมีการจัดกิจกรรมไม่น้อยกว่า 15,000 กิจกรรม ในพื้นที่ 7,435 ตำบล ทั่วประเทศ 77 จังหวัด เช่น การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการผลิตและบริการ เพื่อเพิ่มคุณภาพ และลดต้นทุน การจัดการตลาด การจับคู่ธุรกิจ การพัฒนาบรรจุการขนส่งและการกระจายสินค้าและบริการ เป็นต้น โดยสถาบันอุดมศึกษาที่รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่ (ตำบล) ทำหน้าที่เป็นผู้บูรณาการ ระบบ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ในพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูล TCD ในการวางแผนและพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน
  • การจ้างงาน -พื้นที่ 3,000 ตำบล ต่อยอดจากโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จำนวน 8 คน/ตำบลประกอบด้วยบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษามาไม่เกิน5 ปีจำนวน 4 คน/ตำบล แ
  • ละผู้ที่ถูกเลิกจ้างและประชาชนในพื้นที่จำนวน 4 คน/ตำบล
  • -พื้นที่ 4,435 ตำบลใหม่ จำนวน 10 คน/ตำบลประกอบด้วยบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาไม่เกิน 5 ปี 5 คน/ตำบลและผู้ที่ถูกเลิกจ้างประชาชนในพื้นที่ 5 คน/ตำบล
  • ทั้งนี้ มีระยะเวลาดำเนินการ 3 เดือน ตั้งแต่ 1 ก.ค. – 30 ก.ย. 65
  • โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงประโยชน์ที่จะคาดว่าจะได้รับจากการดำเนินการ คือ เกิดกิจกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ด้วยยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ BCG ไม่น้อยกว่า 15,000 กิจกรรม ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์และบริการของชุมชน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ในผลิตภัณฑ์และบริการของชุมชนไม่น้อยกว่า 4,500 รายการ เกิดการจ้างงานประชาชนทั่วไป และบัณฑิตจบใหม่จำนวนไม่น้อยกว่า 68,350 คน เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในพื้นที่ระหว่างการดำเนินโครงการไม่น้อยกว่า 600 ล้านบาท/เดือน มีการ Upskill/Reskill พัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นและทักษะที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG รวมทั้งการใช้สามารถจัดทำและใช้ประโยชน์จากข้อมูล TCD ในการวิเคราะห์การจัดทำแผนการพัฒนาพื้นที่ครบทุกพื้นที่

 


ทางทวิตเตอร์ได้ที่


error: Content is protected !!